Saturday, September 1, 2012

ประเทศแคนาดา

ประเทศแคนาดา เป็นประเทศที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับสองของโลก ประกอบไปด้วย 10 รัฐ และ 3 ดินแดน (Territories) ซึ่งรัฐมีกฏหมายปกครองโดยตรง และดินแดนนั้นอยู่ภายใต้กฏหมายของสหพันธ์รัฐ ปัจจุบันประเทศแคนาดามีประชากรประมาณ 32 ล้านคน ซึ่งการเพิ่มจำนวนประชากรมาจากการอพยพเข้าไปตั้งถิ่นฐานของชาวต่างชาติ ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 70 ของแรงงานทั้งหมดที่เพิ่มขึ้น จากรายงานของ World Competitiveness Yearbook พบว่าชาวแคนาดาสำเร็จการศึกษาระดับอุดมศึกษาในสัดส่วนที่มากที่สุด ของประชากรของประเทศ



รัฐที่มีประชากรมากที่สุด คือ รัฐ Ontario มีประชากรประมาณ 13 ล้านคน และเป็นที่ตั้งของเมืองหลวง ได้แก่ Ottawa ขณะที่เมืองสำคัญอื่นๆ ได้แก่ Toronto, Montreal, Vancouver, Quebec City, Calgary และ Edmonton
ภูมิภาคเศรษฐกิจของแคนาดาแบ่งได้ดังนี้

Atlantic Canada (ประกอบด้วยรัฐ New Brunswick, Newfoundland and Labrador, Nova Scotia, Prince Edward Island)



ภูมิภาค Atlantic มีประชากรประมาณ 2.3 ล้านคน โดยเมืองที่ใหญ่ที่สุดในภูมิภาค คือ Halifax ประชากรในภูมิภาคมีสัดส่วนจบการศึกษามากที่สุดเทียบกับภูมิภาคอื่นๆ ในประเทศ มีภาษาทางการ 2 ภาษา ได้แก่ อังกฤษและฝรั่งเศส ระบบโทรคมนาคมในภูมิภาคเชื่อมต่อกับทวีปยุโรปทาง Trans-Atlantic Fiber optic อุตสาหกรรมในภูมิภาค ได้แก่ อากาศยาน, เกษตรและประมง, Biotech, น้ำมันและก๊าซ, พลังงานทดแทน , และวิทยาศาตร์เทคโนโลยีทางทะเล เป็นต้น บริษัทชั้นนำที่ตั้งในภูมิภาค ได้แก่ Genesys, Honeywell Aerospace, Michelin Tire, Xerox, CGI เป็นต้น
Northern Canada (ประกอบด้วย 3 ดินแดน ได้แก่ Northwest Territories, Nunavut, Yukon Territory)



ภูมิภาค Northern Canada มีประชากรประมาณ 100,000 คน ซึ่งกว่าร้อยละ 50 ของประชากรเป็นชาวพื้นเมืองดั้งเดิม เมืองสำคัญ ได้แก่ Yellowknife และ Whitehorse อุตสาหกรรมสำคัญในภูมิภาค ได้แก่ เหมืองแร่, พลังงาน, น้ำมันและก๊าซ, การเกษตรและประมง บริษัทชั้นนำที่ตั้งในภูมิภาค ได้แก่ Exxon Mobil, Chevron, Caterpillar, DeBeers, Shell, SNC Lavalin, PetroCanada เป็นต้น
Western Canada (ประกอบด้วย 4 รัฐ ได้แก่ Alberta, British Columbia, Manitoba, Saskatchewan)



ภูมิภาค Western Canada มีประชากรประมาณ 11 ล้านคน ซึ่งส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในรัฐ British Columbia 4.5 ล้านคน และ Alberta 3.7 ล้านคน เมืองสำคัญ ได้แก่ Vancouver, Calgary, Edmonton, Winnipeg, Victoria, Saskatoon และ Regina อุตสาหกรรมสำคัญในภูมิภาค ได้แก่ น้ำมันและก๊าซ, เหมืองแร่โปแตส, การเกษตร, Biotech, ICT, และเครื่องมือแพทย์ ค่า GDP ของภูมิภาค Western Canada คิดเป็นร้อยละ 32 ของทั้งประเทศ และมีอัตราขยายตัวทางเศรษฐกิจกว่า 4 เท่าของค่าเฉลี่ยทั้งประเทศ
หน่วยงานที่สำคัญในภูมิภาค

Ontario

รัฐ Ontario มีประชากรประมาณ 13 ล้านคน มีมูลค่า GDP สูงเป็นอันดับหนึ่งของประเทศ เมืองสำคัญ ได้แก่ Toronto และ Ottawa สินค้าส่งออกที่สำคัญ ได้แก่ ชิ้นส่วนยานยนต์ (ร้อยละ 40) และเครื่องจักร (ร้อยละ 11) อุตสาหกรรมสำคัญ ได้แก่ ยานยนต์, อากาศยาน, เคมี, อาหารแปรรูป, โลหะแปรรูป, ICT บริษัทชั้นนำที่ตั้งในภูมิภาค ได้แก่ Bayer, Bombardier, CAE, Celestica, DuPont, Eli Lilly, Ford Motor, General Motors, GlaxoSmithKline, Honeywell, Lucent, Magna International, Nortel Networks, Novartis, Pfizer, Pratt & Whitney, Research in Motion, Siemens, และ Toyota เป็นต้น
หน่วยงานที่สำคัญในภูมิภาค
Quebec



รัฐ Quebec มีประชากรประมาณ 8 ล้านคน มีมูลค่า GDP สูงเป็นอันดับสองของประเทศ เมืองสำคัญ ได้แก่ Montreal และ Quebec City สินค้าส่งออกที่สำคัญ ได้แก่ ชิ้นส่วนอากาศยาน เครื่องบิน กระดาษ ทองแดง อลูมิเนียม อุตสาหกรรมสำคัญ ได้แก่ อากาศยาน, เคมี, เหมืองแร่, และ Biotech เป็นต้น บริษัทชั้นนำที่ตั้งในภูมิภาค ได้แก่ Abbott Laboratories, Alcoa, Bell Helicopter Textron, Bombardier, CGI, Covance, Frito-Lay, General Electric, Johnson & Johnson, Kraft, Lockheed Martin, Nestle, Nortel Networks, Paccar, Pratt & Whitney, Rolls-Royce, และ Volvo เป็นต้น

หน่วยงานที่สำคัญในภูมิภาค

ภาวะการค้าระหว่างประเทศ
มูลค่าการค้าระหว่างไทย – แคนาดา ยังอยู่ในสัดส่วนที่น้อยมากเมื่อเทียบกับการค้าระหว่างไทยกับประเทศอื่นๆ โดยสินค้าส่งออกไทยไปแคนาดาที่สำคัญ ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์และชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์, อาหารทะเลกระป๋อง, เครื่องใช้ไฟฟ้า, อัญมณี, ผลิตภัณฑ์ยาง, กุ้งสดแช่แข็ง, และเสื้อผ้าสำเร็จรูป สินค้านำเข้าของไทยจากแคนาดาที่สำคัญได้แก่ เยื่อกระดาษ, ปุ๋ยและยากำจัดศัตรูพืช, แผงวงจรไฟฟ้า, สินแร่โลหะ, เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ, เหล็กและเหล็กกล้า, และเคมีภัณฑ์ เป็นต้น
กรมส่งเสริมการส่งออก ได้จัดทำข้อมูลตลาดรายประเทศ โดยประกอบไปด้วยสถานการณ์ตลาดรายเดือน, สถานการณ์เศรษฐกิจการค้า, ภาวะการค้าระหว่างประเทศ, แนวโน้มสินค้า, เครื่องชี้วัดเศรษฐกิจ, กฏหมายและกฏระเบียบการค้า, FTA เป็นต้น
จากข้อมูลภาวะการค้าระหว่างไทย – แคนาดา เห็นได้ว่าสินค้าที่แคนาดามีความต้องการนำเข้าจากไทยมีลักษณะเดียวกันกับ สินค้าที่สหรัฐฯ นำเข้าจากไทย ซึ่งมีความเป็นไปน้อยที่นักธุรกิจไทยจะย้ายฐานการผลิตมาในประเทศแคนาดา เพื่อผลิตสินค้าป้อนให้กับตลาด สำหรับโอกาสการลงทุนภาคอุตสาหกรรมการผลิตอื่นๆ ในแคนาดา รัฐบาลกลางของแคนาดา ได้จัดทำสรุปข้อมูลอุตสาหกรรมแต่ละประเภทที่ชาวต่างชาติมีโอกาสการลงทุน ซึ่งข้อมูลดังกล่าวพร้อมทั้งเอกสารแนะนำการลงทุนและข้อมูลการติดต่อหน่วยงาน รัฐ สามารถดูได้ที่เวบไซต์ www.investincanada.gc.ca
ข้อมูลสรุปตัวเลขเศรษฐกิจที่สำคัญของแคนาดา ซึ่งจัดทำโดยรัฐบาลกลางประเทศแคนาดา สามารถดูได้ที่เวบไซต์ The Conference Board of Canada
รายชื่องานนิทรรศการอุตสาหกรรมที่กรมส่งเสริมการส่งออก กระทรวงพาณิชย์ เข้าร่วมประจำปี สามารถสอบถามได้ที่สำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ทั้ง 2 แห่งในประเทศแคนาดา (โตรอนโต และแวนคูเวอร์) หรือสามารดูได้ที่เวบไซต์กรมส่งเสริมการส่งออก คลิกที่นี่
นอกจากนี้ กรมเศรษฐกิจระหว่างประเทศ กระทรวงการต่างประเทศ ได้จัดตั้งศูนย์บริการข้อมูลธุรกิจ หรือ Business Information Center (BIC) สำหรับประเทศแคนาดา ซึ่งสามารถสืบค้นข้อมูลประเทศ รวมถึงข้อมูลโอกาสทางการค้าการลงทุนต่างๆ กฏระเบียบท้องถิ่น ได้ที่ ศูนย์บริการข้อมูลธุรกิจ – สถานกงสุลใหญ่ ณ นครแวนคูเวอร์ คลิกที่นี่

อ้างอิงจาก: Thailand Board of Investment North America

No comments:

Post a Comment

Thank you for stopping by!
www.nashacor.com