Wednesday, November 11, 2015

ข้อมูล เปิดร้านอาหารไทยในแคนาดา

ร้านอาหารไทยไม่ไกลจากบ้านผู้เขียน ไปลองชิมดู ไม่อร่อย อาหารไม่แซ๊บ...ไม่ถูกปาก สืบไปสืบมา ได้ความว่าคนจีนเป็นเจ้าของ มีแม่ครัวเป็นคนไทยก็จริง แต่บางครั้งเจ้าของรสนิยมในการทานค่อนข้างไปทางที่เค้าคุ้นเคยมากกว่า ไม่แซ๊บเวอร์เหมือนพี่ไทยเรา ไม่ประทับใจรสชาติไปทานครั้งเดียว ขอบาย...ค่ะ

ตำถาด ฝีมือน้องติ๋ว ทำทานกันที่บ้านพี่หน่อย
ร้านอาหารไทยที่มีเจ้าของหรือพ่อครัวแม่ครัว ไม่ใช่คนไทยนั้นได้ ดัดแปลงสูตรการปรุงอาหารไทย ทำให้รสชาติของอาหารผิดเพี้ยนไปจากรสชาติดั้งเดิม และการเลือกใช้วัตถุดิบในการปรุงอาหารที่ไม่ถูกต้อง อย่ากระนั้นเลย ผู้เขียนคิดว่าเผื่อมีเพื่อนๆสนใจเปิดร้านที่แคนาดา จึงได้เรียบเรียง เพิ่มเติมข้อมูลเท่าที่จะหามาได้ เผื่อจะเป็นประโยชน์น่ะค่ะ
Rotini pasta with tiger shrimp (Thai-Style) very spicy..
ขั้นตอนการเปิดร้านอาหารไทยในแคนาดา
แคนาดามีนโยบายเสรี และส่งเสริมให้นักลงทุนชาวต่างชาติ สามารถลงทุนในธุรกิจร้านอาหารโดยไม่มีข้อจำกัด โดยสามารถลงทุนและเป็นเจ้าของได้ 100% ไม่จำเป็นต้องมีผู้ถือหุ้นส่วนที่มีสัญชาติแคนาดา (ผู้ถือหุ้นส่วนท้องถิ่น) และมีสิทธิในการซื้อครอบครองอสังหาริมทรัพย์ได้ 100%

1. การคัดเลือกชื่อและจดทะเบียนชื่อบริษัท ห้างร้านนิติบุคคล 
ในแคนาดานั้นสามารถทำได้ บนระบบ อินเตอร์เนต ในการค้นหารายชื่อ เครื่องหมายสินค้ากับระบบ Canada-biased ข้อมูลเพิ่มเติม www.government.gc.ca
ซึ่งเป็นหน่วยงานของ รัฐบาลแคนาดา เพื่อจะขอรับรายงานการตรวจชื่อว่าไม่เคย ถูกใช้จดทะเบียนมาก่อน มาเป็นเอกสารในการยื่นขอจดทะเบียนต่อหน่วยงาน

2. การสมัครหมายเลขทะเบียนธุรกิจ Business Number (BN) 
ซึ่งเสมือนการเปิดบัญชีภาษีของบริษัท ที่จะเชื่อมโยงธุรกรรมต่างๆ ของบริษัทนิติบุคคลกับกรมสรรพากรแคนาดา หรือ Canada Revenue Agency (CRA) ที่เป็นหน่วยงาน รัฐบาลกลาง (Federal Government) เพื่อจะเรียกเก็บภาษีดังนี้

- ภาษีการขายสินค้าและบริการ ในแต่ละมณฑลจะมีการเรียกเก็บในอัตราที่ต่างกัน โดยมีชื่อเรียกใช้ GST (Goods and Services tax) หรือ HST

ภาพประกอบ พักสายตาค่ะ
- (Harmonized sales tax) เป็นบัญชีภาษีที่ผู้ประกอบการจะเรียกเก็บจากลูกค้าจากการให้บริการหรือ จำหน่ายสินค้า โดยเป็นภาษีที่ส่งให้กับภาครัฐฯ ส่วนกลาง

- Payroll Deductions เป็นบัญชีภาษีที่นายจ้าง/ผู้ประกอบการ เรียกเก็บจากลูกจ้าง/พนักงานของ บริษัทได้แก่ CPP (Canada Pension Plan), EI (Employment Insurance) และภาษีรายได้ของ พนักงาน โดยจะส่งไปยังรัฐบาลส่วนกลาง

- Import/Export เป็นบัญชีที่ใช้สำหรับการเก็บภาษีจากการนำเข้า/ส่งออกของบริษัท Corporate Income Tax Account เป็นบัญชีภาษีรายได้ของบริษัทนิติบุคคลที่จะส่งให้กับรัฐบาลส่วนกลาง ทั้งนี้บริษัทจะต้องเสียภาษีให้กับรัฐบาลท้องถิ่นอีกด้วยโดยในระดับมณฑล (Provincial Government) บริษัทจะต้องยื่นคำร้องขอใบอนุญาตและเปิดบัญชีผู้เสียภาษีของบริษัท นิติบุคคล

ภาพประกอบ พักสายตา จากฝีมือผู้เขียน/เรียบเรียง
3. ใบอนญาตธุรกิจ (Vender Permit)
ในการเปิดกิจการ ธุรกิจทุกประเภทจะต้องมีการจดทะเบียนขอใบอนุญาต Vender ในระดับรัฐบาลท้องถิ่น (Provincial Government) เพื่อขอรับหมายเลขภาษีของบริษัท ที่เรียกต่างกันในแต่ละมณฑล อาทิ HST (Harmonized Sales Tax) หรือ Provincial Sale Tax (PST) โดยสามารถติดต่อหน่วยงานในรัฐบาลท้องถิ่น อาทิเช่น ในมณฑล British Columbia ผู้ประกอบการสามารถติดต่อเพื่อจดทะเบียนหมายเลขภาษี HST number ของผู้ประกอบกิจการ ได้ที่ www.canadabusiness.ca

4. ใบอนุญาตการประกอบธุรกิจร้านอาหาร (Business License) 
การดำเนินธุรกิจบางประเภทในแคนาดา จะต้องได้รับ Business License นอกเหนือจาก Vender Permit อาทิเช่น ธุรกิจร้านอาหาร ในแตละมณฑลของแคนาดาจะมีกฎระเบียบที่แตกต่างกัน ตามข้อบังคับของรัฐบาลท้องถิ่น Provincial หรือ Municipal government ซึ่งข้อกาหนดนั้นส่วนใหญ่จะพิจารณาจากขนาดของสถานที่ให้บริการ และบริเวณที่ตั้ง (Zoning Law) รวมทั้งผลกระทบต่างๆ เป็นต้น 

One Stop Service
5.ใบอนุญาตจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอลล์ (Liquor Sales License)
ร้านอาหารที่มีความประสงค์ จะจำหน่าย เครื่องดื่มแอลกอฮอลล์ จะต้องได้รับใบอนุญาตก่อนที่จำหน่าย หรือให้บริการ ทั้งนี้ใบอนุญาต อาจมีข้อจำกัด อาทิเช่น ที่ให้บริการเครื่องดื่มได้เฉพาะในร้านอาหารเท่านั้น ในกรณีการจัดงานนอกสถานที่ (Catering Service) จะต้องขอใบอนุญาตประเภทอื่น และมีค่าใช้จ่ายที่ ต่างกัน
6. ใบอนุญาตติดตั้งป้ายโฆษณา (Commercial Sign Permit)
ในกรณีที่บริษัทห้างร้าน มีความประสงค์ติดตั้งป้ายโฆษณา ในเชิงพาณิชย์ ที่ตั้งอยู่ใกล้ทางด่วน (Highway) ที่มีระยะใกล้กว่า 400 เมตร
ตัวอย่าง ภาพประกอบ
 7. ใบรับรอง (Food Handler Certification)
ตัวอย่างที่ Toronto ตั้งแต่วันที่1 กันยายน 2549 รัฐบาลท้องถิ่นใน นครโตรอนโต (City of Toronto) ได้ออกกฎหมายบังคับว่า ผู้ประกอบการร้านอาหาร ณ นครโตรอนโต จะต้องมี พนักงานในเวลาทำ การในร้านอาหารอย่างน้อย 1 คนที่ผ่านการอบรม และสอบได้รับใบประกาศนียบัตร Food Handler Certification ทั้งนี้ผู้ประกอบการสามารถหาข้อมูล/สมัครอบรมหลักสูตรเพิ่มเติมได้ที่ http://app.toronto.ca/foodhandler/pub/schedule.jsp

ภาษีรายได้และหน้าที่ของผู้ประกอบกิจการ  นอกเหนือจากการจ่ายภาษีรายได้ของกิจการแล้ว ผู้ประกอบการจะมีหน้าที่เรียกเก็บภาษีการขาย HST (13%) จากลูกค้า รวมทั้งการเก็บรวบรวมภาษีรายได้จากลูกจ้าง และส่งต่อ Canada Revenue Agency (CRA) โดยภาษีที่หักจากลูกจ้างมีดังนี้

ภาพประกอบ พักสายตา สีสดใส
1. ภาษีเงินได้ บริษัท/ผู้ประกอบการจะมีหน้าที่หักรายได้ของลูกจ้าง ณ ที่จ่ายและรวบรวมส่งให้กับ CRA ทั้งนี้ปริมาณการหักภาษี ขึ้นอยู่กับระดับรายได้ของลูกจ้าง

2. CPP - Canada Pension Plan (ระบบการเก็บเงินบำนาญ โดยลูกจ้างจะได้รับเงินบำนาญจากรัฐบาล แคนาดาโดยคิดคำนวณขึ้นอยูกับจำนวนรวมที่ถูกหักจากรายได้ทุกปี หลังจากมีอายุครบ 65 ปี บริบูรณ์)

3. EI - Employment Insurance (ระบบการประกันสังคมในกรณีลูกจ้างถูกเลิกจ้าง หรือถูก Layoff )

ขั้นตอนการเปิดบริษัท/สาขาในแคนาดา
แคนาดา มีนโยบายการค้าเสรี จึงมีข้อจำกัด ในการที่ชาวต่างชาติ สามารถมาดำเนินประกอบธุรกิจในประเทศแคนาดา ยกเว้นธุรกิจที่เกี่ยวกับความมั่นคง และ ธุรกิจ สื่อ/วัฒนธรรม ทั้งนี้ขั้นตอนการเปิดธุรกิจในแคนาดา สามารถสรุปได้ดังนี้

1. การเลือกชื่อ และจดทะเบียนชื่อบริษัท ห้างร้านนิติบุคคล
2. การสมัครหมายเลขทะเบียนธุรกิจ Business Number (BN) - ในระดับรัฐบาลกลาง
3. การขอใบอนุญาตธุรกิจ (Vender Permit) ในระดับรัฐบาลมณฑล/ท้องถิ่น
4. ในธุรกิจบางประเภทจะต้องมีใบอนุญาตพิเศษ ที่กฏระเบียบแตกต่างกันตาม มณฑล และเทศบาลท้องถิ่น

CR: http://www.depthai.go.th

ขนมไท้ไทย ในต่างแดน (ครัวแคนาดา)

เกริ่นนำ: ความเพ้อฝัน ไม่ใช่เรื่องเพ้อเจ้อ สำหรับคนทำธุรกิจ...เล็กๆ
NashaCor: นางได้กล่าวไว้....


ถึงเวลาแล้วสิน่ะ ที่จะทำขนมไทยๆที่ผู้เขียนชอบทาน มาแต่งองค์ทรงเครื่องให้สวยงาม นำมาเข้าระบบระเบียบแบบแผน มาตรฐานรับรองในแคนาดา เอ๊า...ไม่ลองไม่รู้

บุคลากร ในการจัดตั้งบริษัทเล็กๆเราก็มีครบ บริษัท Korsha ของคุณสามี งานถนัดคอมพิวเตอร์ อาร์ตติส ดีไซน์ บรรจุภัณฑ์ ออกแบบโลโก้ 3D 2D ฯลฯ คริๆไม่ต้องเสียตังค์ งานส่วนนี้แพงใช่เล่น ส่วนตัวผู้เขียนเองรับหน้าที ดูแลสากกะเบือ ยันเรือรบ 55 ด้วยความเต็มใจ ทำงานหลายอย่างมันท้าทายสุดๆ ไหนจะ Pre-Order, งานโครเชต์, งานผ้าฝีมือ, หุ้น/กองทุน นิดหน่อย และงานบ้านสวนฯ ทั้งหมดที่ทำมันคือความรักในงาน ทำด้วยความสุข ไม่รีบไม่เร่ง

Western Living magazine’s 2013 Designers of The Year Awards
จุดหักเห หันมาสนใจทำธุรกิจใหม่เอี่ยม ล่าสุด ผู้เขียนชอบทำขนมไทย เวลาเหงาปาก เคี้ยวกรุบกริบ กรอบๆมันส์ๆ ขนมที่กล่าวถึง คือ ขนมดอกจอก ขนมถั่วทอด ครองแครงกรอบ ฯลฯ ทุกครั้งที่ทำจะทำเผื่อผองเพื่อน ใครใคร่ชิม ชิม ทดลองไปเรื่อยเปื่อย เปลี่ยน ingredient recipe หลายแบบ หลายรสชาติ เพื่อนฝรั่งชอบ เพื่อนไทยบอกทำอีกๆ

ขนมถั่วทอด
 
ตัวอย่าง Packaging

 แรงบันดาลใจ คุณสามีบอก ผมมีไอเดีย ทำไมเราไม่เอาขนมไทยๆเนี่ยแหละ ลองตลาดในแคนาดาดูล่ะ มันอร่อย เคี้ยวเพลินจริงๆน่ะ...บล่าๆๆๆๆๆๆ เฮียแกเม๊าท์เก่ง...ลงตัวเลย ได้บุคลากรอีกหนึ่งตำแหน่ง นอกจาก IT ไอเดียแล้ว มอบตำแหน่งพนักงานฝ่ายการตลาดให้เฮียอีกหนึ่งตำแหน่ง เอาแว๊...ทำก็ทำ ลองดู

ต้องทำไรบ้างเนี่ย...นักวางแผนอยู่แล้ว ขอเวลาเคลียร์งานแพล๊บ...วันหยุด เสาร์-อาทิตย์ จะเรียบเรียงว่าต้องทำอะไรก่อนหลัง

โฉมหน้า นักวางแผน (ขนมยายไหว my idol ไม่เคยลืม)
เฮีย มี Connection เกี่ยวกับธุรกิจนี้ (ธุรกิจ IT ลูกค้าส่วนใหญ่เกี่ยวกับอาหาร จ้างเฮียทำโฆษณา งาน Present) ค่อนข้างเยอะ+พูดเก่ง 55 ตรงข้ามกับผู้เขียน(ดอกพิกุลจิล่วง) ขออยู่เบื้องหลังน่ะจ๊ะ เฮียก็โทรๆๆๆๆๆหาข้อมูลจากบริษัทฯลูกค้าบ้าง เพื่อนๆบ้าง ได้ข้อมูลมา ค่าใช้จ่าย การดำเนินเรื่องขอ Nutrition labels ต้องมี 2 ภาษา ทั้งอังกฤษ ฝรั่งเศส ทาง SGS Concumer Testing Services บริษัทนี้ อยู่ใน อเมริกา แต่มี Office อยู่ที่ Vancouver

The world's leading inspection,verification, testing and certification company
ตัวอย่างแบบสอบถาม ให้อธิบายลักษณะ รายละเอียด สินค้าของคุณ อูณหภูมิต้องยังงัย ต้องแช่ในช่องฟรีซ หรือเปล่าอะไรประมาณนี้อ๊ะค่ะ
Describe  your product, be as detailed as possible. If you have an ingredients statement please attach. 
What temperature will the product be stored at?   Any specific maintenance temperatures? Do you anticipate any temperature fluctuations during storage or transportation?  How will SGS receive the  sample, will it be in the same condition you want it stored and evaluated? If not, please describe.

Start Up ขอเริ่มต้นทำ 2 ชนิดก่อน เอาไว้อนาคตรุ่งๆ แล้วค่อยเพิ่มสินค้าอื่นๆ ขนมถั่วทอด กับขนมดอกจอก

ขนมดอกจอก

ทดลองแพ๊คแบบง่ายๆ
Sunday, November 8, 2015
ขั้นตอนทดลอง ทำ Shelf-Life เอง คือ การทดลองว่า ระยะเวลานานแค่ไหนที่ขนมจะอยู่ได้ กรอบ ไม่เสีย ทำขนมใช้น้ำมันใหม่หมด ส่วนประกอบต่างๆต้องให้ตรงกับที่จะทำเรื่อง จาก SGS โดยการแบ่งขนมเป็นห่อๆปิดผนึกให้เรียบร้อย กำหนดระยะทดลอง 4 อาทิตย์ ก็อย่างละ 4 ห่อด้วยกัน จะเห็นดังภาพ ทดลองขนมดอกจอก ถ้าปล่อยดอกของขนมให้แบน จะดูไม่สวย ต้องหาถ้วย มาทำให้เป็นดอกโค้งจะสวย เสียเวลานิดหน่อย แต่จะดูดีกว่า


อีก 1 อาทิตย์จะมาอับเดทน่ะค่ะ 

Sunday November 14, 2015
ทดลองชิมดู ทั้งสองชนิด ขนมยังคงสภาพเดิม กรอบ กรุบกริบ เหมือนทอดใหม่ๆ อาทิตย์แรกผ่านไปด้วยดี ติดตามสอบถามเพื่อนๆที่ทดลองชิม สงสัยต้องทำหัวข้อแบบสอบถามแล้วมั้งค่ะเนี่ย... 

Sat November 22, 2015
เราสองคนยังคงทำงานกันอย่างต่อเนื่องค่ะ กับธุรกิจใหม่ ล่าสุด นั่งคิด นอนคิด ปรึกษาเรื่องชื่อบริษัท, โดเมนเนม มาหลายอาทิตย์ไม่ลงตัว ไม่คลิ๊กซักที ผู้เขียนเสนอคำว่า Korsha ซึ่งเป็นชื่อบริษัทของคุณสามี ซึ่งคำว่า Kor มาจากคำตัวแรกของนามสกุล Cormack แต่เปลี่ยนจากตัว C เป็นตัว K แทน ส่วนคำว่า sha มาจากคำสุดท้ายชื่อผู้เขียน Nasha

Korsha (conceptual artist)


แล้วอะไรต่อละทีนี้ 55 ขอไปนอนคิดอีก 1 คืน ตื่นเช้ามา เช็คอีเมล เช็คโน่น นี่ นั่น ไปเจอรูปเก่าๆในมือถือครั้งไปลั่นล้า...ที่ปารีส ประเทศฝรั่งเศส เมืองในฝันของผู้เขียน เที่ยว Paris ไอเดียบรรเจิด 

ไอเดียชื่อ มาจากภาพนี้
สองภาพนี้สถานที่คนละที่กัน สังเกตมั้ยค่ะ ร้านอาหารที่ฝรั่งเศสส่วนใหญ่จะมีคำว่า Le นำหน้า ชอบจังค่ะ เอ...หรือว่าจะเป็น Le Korsha ดี แล้วความหมายละ ถ้าในภาษาอื่น ชื่อนี้จะแปลว่าอย่างไร อิอิ ไม่ได้การละ ขอถามอากู๋ (Google) ก่อน ได้ข้อมูลมาดังภาพค่ะ

Le VS La
คำว่า Le คือคำที่ใช้นำหน้าสำหรับผู้ชาย เพราะฉะนั้น จึงจำต้องใช้ La หมายถึง คำที่ใช้นำหน้าสำหรับผู้หญิง สรุปชื่อธุรกิจใหม่ของเรา คือ La Korsha ค่ะ เฮ้อ....โล่งอกไปอีกขั้นตอน 

ยังๆค่ะ ต้องไปเช็คโดเมนเนม ก่อน ถ้ามีคนจดทะเบียนโดเมนเนม ชื่อนี้แล้ว เราก็อดใช้ ไม่ได้การอีกเช่นเคย ช้าไม่ได้ เข้าไปที่ godaddy.com เสิร์จ lakorsha.com (ใจเต้นตุ๊บๆ) เพราะถ้ามีคนจด ก็ต้องมาคิดกันใหม่ ขั้นตอนคิด มันเหนื่อยน่ะคร้า...

โดเมนเนม ใหม่ของเราค่ะ
ผลเป็นดังนี้ค่ะ Yes! ยังไม่มีใครจด ดีใจจัง งานลำดับต่อไป ก็เป็นหน้าที่ของเฮียไมค์ ไปออกแบบโลโก้มา แล้วค่อยมาโหวต กันอีกทีว่าจะใช้โลโก้ไหน แล้วจะมาอับเดทต่อไปค่ะ

Sunday November 26, 2015 
ทดลองความกรอบ และอายุของการเก็บขนม อาทิตย์ที่ 3 แล้วน่ะค่ะ ยังเคี้ยวกรุบกริบเหมือนเดิมค่ะ ทั้ง 2 ชนิด ขนมดอกจอก และขนมถั่วทอด สามีบอกเหลือไว้ อย่าทานหมดน่ะ จะทดลองไปเรื่อยๆ อาจจะอยู่ได้ถึง 2 เดือน ช่วงนี้จะโฟกัสไปที่ packaging ผู้เขียนชอบธรรมชาติอยู่แล้ว เพราะฉะนั้น ที่มองๆและคิดไว้ตลอดเวลาคือ ต้องเป็นกระดาษคราฟท์สีน้ำตาล คล้ายๆดังภาพข้างล่างค่ะ

Cr: spoonforkbacon.com
ขั้นตอนต่อไป ไปจดทะเบียน Business Registration in British Columbia Canada ไม่ต้องเสียเวลาไปสำนักงาน แค่จดทะเบียนออนไลน์ www.bcbusinessregistry.ca หรือ One Stop Service 
อาจจดในนาม Sole Proprietorship หรือ Partnership ไว้คิดกันอีกที 


ทำทีเดียวหลายอย่าง ต้องใช้เวลาเหมือนกันน่ะค่ะ จัดแฟ้มเอกสาร เพื่อที่จะทำ Business Plan วางแผนระยะสั้น ระยะยาว แผนธุรกิจ เป็นเครื่องมือที่มีความสำคัญมากน่ะค่ะ คุณอาจจะใช้ไปยื่นขอกู้เงินจากธนาคารเพื่อมาเริ่มต้น หรือขยายธุรกิจในอนาคต แผนธุรกิจจะเป็นบทสรุป หรือผลรวม กระบวนการคิด การตัดสินใจ ที่จะเปลี่ยนความคิดของผู้ประกอบการออกมาเป็นโอกาสทางธุรกิจ 

www.lakorsha.com
ส่วนใหญ่ทราบกันว่าแผนธุรกิจเปรียบเสมือน แผนที่ในการเดินทาง ที่จะชี้แนะ ขั้นตอนแต่ละขั้นตอนในการก่อตั้ง บริหารกิจการ ในแผนธุรกิจ จะมีรายละเอียดต่างๆ เช่น การตลาด กลยุทธ์ในการแข่งขัน ดำเนินธุรกิจ การวางแผนคาดคะเนทางด้านการเงิน 

Sunday December 13, 2015
เช็คขนมดอกจอก กับขนมถั่วทอด อาทิตย์ที่ 5 ความกรอบ รสชาติ ยังคงเหมือนเดิม วันนี้ทำขนมถั่วทอดตามสั่งค่ะ ขายบ้าง แถมๆไปบ้างเพื่อทดลองตลาด 

ขนมถั่วทอด
กรอบ มันส์ เคี้ยวเพลิน
ครัว La'Korsha Canada


ขนมชุดนี้บางส่วน ส่งไปเมือง Saskatoon มีโอกาส ทดลองตลาดที่โน่นดูค่ะ อีกส่วนส่ง Local British Columbia สิ่งที่ต้องระวัง คนส่วนใหญ่จะมีปัญหาเรื่อง แพ้ถั่วลิสง การนำสินค้าตัวนี้เข้าตลาดค่อนข้างลำบาก ส่วนครัวดังรูป ใช้ชั่วคราว เพราะถ้าทำเป็นธุรกิจ กฏหมายที่นี่กำหนดไว้ไม่สามารถทำจากครัวที่อยู่อาศัยได้ ประมาณว่าต้องเสียค่าโน่น นี่ นั่น จิปาถะ มีธุรกิจที่นี่ค่อนข้างลำบาก เอกสารเยอะแยะมากมายก่ายกอง ข้อจำกัดเพียบ ฯลฯ กว่าจะเปิดร้านเล็กๆซักร้าน ท้อแท้ไปตามๆกัน ส่วนใหญ่ปิดตัวลง เพราะค่าเช่าร้านแพงเกิ้น...

Saturday February 6, 2016 
ไม่ได้อับเดทตั้งแต่ปีที่แล้วค่ะ เพราะยุ่งๆอยู่กับงานหลายๆอย่าง เพราะผู้เขียนมีความเชื่อว่า ถ้าเราทำหลายอย่าง ธุรกิจอันนี้ตันหรือมีปัญหา เรายังสามารถ ไปทำอย่างอื่นที่พอจะทำเงินกว่า ไม่ได้มีกำไรมากมาย ทำเพราะใจรักล้วนๆ แค่ทำให้ชีวิตดำเนินไปได้ ช่วยเหลือญาติพี่น้องบ้างตามกำลัง ทำมาหากินกันปาย ชีวิตไม่สิ้นก็ดิ้นกันต่อไปค่ะทุกคน

Cr: Shop Ululu
เรามาคุยเรื่อง Packaging กันค่ะ ผู้เขียนพยายามสอบถามบริษัทฯที่ผลิตกล่องในแคนาดา บอกตรงๆค่ะ สั่งไม่ลง แพงสุดๆอ๊ะ...แล้วจะเอากำไรที่ไหนมาต่อยอด ราคาขายก็ไม่สามารถจะตั้งสูงได้ เดี๋ยวขายไม่ออก เลยตัดใจไม่เอาแล้ว สั่งผลิตกล่องจากเมืองไทยดีที่สุด ราคาผลิตพร้อมค่าส่งรวมๆแล้วจะถูกกว่ามาก 

ตัวอย่างกล่องใส่ขนม แต่จะสูงกว่ามาก
กล่องจะพิมพ์แค่โลโก้ La'Korsha สีอาจเป็นสีดำ-เขียวตองอ่อน หรือไม่ก็สีดำ-Silver สีเงินนั่นแหละค่ะ แต่คุณไมค์งานล้นมือ รึเปล่า! มิอาจรู้ "หนุ่มติสต์...อารมณ์ศิลปิน" ได้ ยังไม่ดีไซด์โลโก้ให้ใหม่  ก็ต้องรอ ร้อ รอ กานต่อปายคร้าพี่น้อง....แหม๋...ถ้าทำเองเป็นหมดทุกอย่าง เดี้ยน..ทำไปนานล่ะ ช่างตรงกันข้ามกันเหลือเกิ้นนนน...

โลโก้แบบด่วนๆ ของจริงยังคิดไม่ออกค่ะ
ที่เห็นเป็นสี่เหลี่ยมดังรูปกล่องตัวอย่าง จะเจาะหน้าต่างเพื่อให้สามารถเห็นสินค้าด้านใน ก่อนที่จะลงกล่อง ขนมจะถูกบรรจุในถุงพลาสติกสำหรับใส่อาหารโดยเฉพาะ ปิดปากถุงด้วยเครื่องซีลปากถุง ใช้แบบราคาพอซื้อหาได้ไปก่อนค่ะ

เครื่องซีลปากถุง ราคาย่อมเยาว์
เพื่อลดต้นทุน ผู้เขียนสั่งผลิต แบบเดียวกันใส่แค่โลโก้ La'Korsha กับเว็บไซต์ www.lakorsha.com บนกล่อง เพราะต้องสั่งทีเดียวเป็นจำนวนมากๆแฮะๆเพื่อลดต้นทุนอีกนั่นแหล๊ะค่ะ สั่งมากราคาต่อกล่องจะถูก ดัดแปลงใส่สินค้าได้หลายชนิด

***ไว้ขยันแล้วจะมาอับเดทใหม่นะค่ะ (เป็นคนแปลก สมาธิในการทำงานสั้น วิธีแก้ก็คือทำหลายๆอย่าง เบื่ออันนี้ ก็ไปทำอันโน้น กลับมาทำอันนี้ คลายเครียดได้ดีทีเดียวค่ะ)