Saturday, September 1, 2012

ประเทศแคนาดา

ประเทศแคนาดา เป็นประเทศที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับสองของโลก ประกอบไปด้วย 10 รัฐ และ 3 ดินแดน (Territories) ซึ่งรัฐมีกฏหมายปกครองโดยตรง และดินแดนนั้นอยู่ภายใต้กฏหมายของสหพันธ์รัฐ ปัจจุบันประเทศแคนาดามีประชากรประมาณ 32 ล้านคน ซึ่งการเพิ่มจำนวนประชากรมาจากการอพยพเข้าไปตั้งถิ่นฐานของชาวต่างชาติ ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 70 ของแรงงานทั้งหมดที่เพิ่มขึ้น จากรายงานของ World Competitiveness Yearbook พบว่าชาวแคนาดาสำเร็จการศึกษาระดับอุดมศึกษาในสัดส่วนที่มากที่สุด ของประชากรของประเทศ



รัฐที่มีประชากรมากที่สุด คือ รัฐ Ontario มีประชากรประมาณ 13 ล้านคน และเป็นที่ตั้งของเมืองหลวง ได้แก่ Ottawa ขณะที่เมืองสำคัญอื่นๆ ได้แก่ Toronto, Montreal, Vancouver, Quebec City, Calgary และ Edmonton
ภูมิภาคเศรษฐกิจของแคนาดาแบ่งได้ดังนี้

Atlantic Canada (ประกอบด้วยรัฐ New Brunswick, Newfoundland and Labrador, Nova Scotia, Prince Edward Island)



ภูมิภาค Atlantic มีประชากรประมาณ 2.3 ล้านคน โดยเมืองที่ใหญ่ที่สุดในภูมิภาค คือ Halifax ประชากรในภูมิภาคมีสัดส่วนจบการศึกษามากที่สุดเทียบกับภูมิภาคอื่นๆ ในประเทศ มีภาษาทางการ 2 ภาษา ได้แก่ อังกฤษและฝรั่งเศส ระบบโทรคมนาคมในภูมิภาคเชื่อมต่อกับทวีปยุโรปทาง Trans-Atlantic Fiber optic อุตสาหกรรมในภูมิภาค ได้แก่ อากาศยาน, เกษตรและประมง, Biotech, น้ำมันและก๊าซ, พลังงานทดแทน , และวิทยาศาตร์เทคโนโลยีทางทะเล เป็นต้น บริษัทชั้นนำที่ตั้งในภูมิภาค ได้แก่ Genesys, Honeywell Aerospace, Michelin Tire, Xerox, CGI เป็นต้น
Northern Canada (ประกอบด้วย 3 ดินแดน ได้แก่ Northwest Territories, Nunavut, Yukon Territory)



ภูมิภาค Northern Canada มีประชากรประมาณ 100,000 คน ซึ่งกว่าร้อยละ 50 ของประชากรเป็นชาวพื้นเมืองดั้งเดิม เมืองสำคัญ ได้แก่ Yellowknife และ Whitehorse อุตสาหกรรมสำคัญในภูมิภาค ได้แก่ เหมืองแร่, พลังงาน, น้ำมันและก๊าซ, การเกษตรและประมง บริษัทชั้นนำที่ตั้งในภูมิภาค ได้แก่ Exxon Mobil, Chevron, Caterpillar, DeBeers, Shell, SNC Lavalin, PetroCanada เป็นต้น
Western Canada (ประกอบด้วย 4 รัฐ ได้แก่ Alberta, British Columbia, Manitoba, Saskatchewan)



ภูมิภาค Western Canada มีประชากรประมาณ 11 ล้านคน ซึ่งส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในรัฐ British Columbia 4.5 ล้านคน และ Alberta 3.7 ล้านคน เมืองสำคัญ ได้แก่ Vancouver, Calgary, Edmonton, Winnipeg, Victoria, Saskatoon และ Regina อุตสาหกรรมสำคัญในภูมิภาค ได้แก่ น้ำมันและก๊าซ, เหมืองแร่โปแตส, การเกษตร, Biotech, ICT, และเครื่องมือแพทย์ ค่า GDP ของภูมิภาค Western Canada คิดเป็นร้อยละ 32 ของทั้งประเทศ และมีอัตราขยายตัวทางเศรษฐกิจกว่า 4 เท่าของค่าเฉลี่ยทั้งประเทศ
หน่วยงานที่สำคัญในภูมิภาค

Ontario

รัฐ Ontario มีประชากรประมาณ 13 ล้านคน มีมูลค่า GDP สูงเป็นอันดับหนึ่งของประเทศ เมืองสำคัญ ได้แก่ Toronto และ Ottawa สินค้าส่งออกที่สำคัญ ได้แก่ ชิ้นส่วนยานยนต์ (ร้อยละ 40) และเครื่องจักร (ร้อยละ 11) อุตสาหกรรมสำคัญ ได้แก่ ยานยนต์, อากาศยาน, เคมี, อาหารแปรรูป, โลหะแปรรูป, ICT บริษัทชั้นนำที่ตั้งในภูมิภาค ได้แก่ Bayer, Bombardier, CAE, Celestica, DuPont, Eli Lilly, Ford Motor, General Motors, GlaxoSmithKline, Honeywell, Lucent, Magna International, Nortel Networks, Novartis, Pfizer, Pratt & Whitney, Research in Motion, Siemens, และ Toyota เป็นต้น
หน่วยงานที่สำคัญในภูมิภาค
Quebec



รัฐ Quebec มีประชากรประมาณ 8 ล้านคน มีมูลค่า GDP สูงเป็นอันดับสองของประเทศ เมืองสำคัญ ได้แก่ Montreal และ Quebec City สินค้าส่งออกที่สำคัญ ได้แก่ ชิ้นส่วนอากาศยาน เครื่องบิน กระดาษ ทองแดง อลูมิเนียม อุตสาหกรรมสำคัญ ได้แก่ อากาศยาน, เคมี, เหมืองแร่, และ Biotech เป็นต้น บริษัทชั้นนำที่ตั้งในภูมิภาค ได้แก่ Abbott Laboratories, Alcoa, Bell Helicopter Textron, Bombardier, CGI, Covance, Frito-Lay, General Electric, Johnson & Johnson, Kraft, Lockheed Martin, Nestle, Nortel Networks, Paccar, Pratt & Whitney, Rolls-Royce, และ Volvo เป็นต้น

หน่วยงานที่สำคัญในภูมิภาค

ภาวะการค้าระหว่างประเทศ
มูลค่าการค้าระหว่างไทย – แคนาดา ยังอยู่ในสัดส่วนที่น้อยมากเมื่อเทียบกับการค้าระหว่างไทยกับประเทศอื่นๆ โดยสินค้าส่งออกไทยไปแคนาดาที่สำคัญ ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์และชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์, อาหารทะเลกระป๋อง, เครื่องใช้ไฟฟ้า, อัญมณี, ผลิตภัณฑ์ยาง, กุ้งสดแช่แข็ง, และเสื้อผ้าสำเร็จรูป สินค้านำเข้าของไทยจากแคนาดาที่สำคัญได้แก่ เยื่อกระดาษ, ปุ๋ยและยากำจัดศัตรูพืช, แผงวงจรไฟฟ้า, สินแร่โลหะ, เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ, เหล็กและเหล็กกล้า, และเคมีภัณฑ์ เป็นต้น
กรมส่งเสริมการส่งออก ได้จัดทำข้อมูลตลาดรายประเทศ โดยประกอบไปด้วยสถานการณ์ตลาดรายเดือน, สถานการณ์เศรษฐกิจการค้า, ภาวะการค้าระหว่างประเทศ, แนวโน้มสินค้า, เครื่องชี้วัดเศรษฐกิจ, กฏหมายและกฏระเบียบการค้า, FTA เป็นต้น
จากข้อมูลภาวะการค้าระหว่างไทย – แคนาดา เห็นได้ว่าสินค้าที่แคนาดามีความต้องการนำเข้าจากไทยมีลักษณะเดียวกันกับ สินค้าที่สหรัฐฯ นำเข้าจากไทย ซึ่งมีความเป็นไปน้อยที่นักธุรกิจไทยจะย้ายฐานการผลิตมาในประเทศแคนาดา เพื่อผลิตสินค้าป้อนให้กับตลาด สำหรับโอกาสการลงทุนภาคอุตสาหกรรมการผลิตอื่นๆ ในแคนาดา รัฐบาลกลางของแคนาดา ได้จัดทำสรุปข้อมูลอุตสาหกรรมแต่ละประเภทที่ชาวต่างชาติมีโอกาสการลงทุน ซึ่งข้อมูลดังกล่าวพร้อมทั้งเอกสารแนะนำการลงทุนและข้อมูลการติดต่อหน่วยงาน รัฐ สามารถดูได้ที่เวบไซต์ www.investincanada.gc.ca
ข้อมูลสรุปตัวเลขเศรษฐกิจที่สำคัญของแคนาดา ซึ่งจัดทำโดยรัฐบาลกลางประเทศแคนาดา สามารถดูได้ที่เวบไซต์ The Conference Board of Canada
รายชื่องานนิทรรศการอุตสาหกรรมที่กรมส่งเสริมการส่งออก กระทรวงพาณิชย์ เข้าร่วมประจำปี สามารถสอบถามได้ที่สำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ทั้ง 2 แห่งในประเทศแคนาดา (โตรอนโต และแวนคูเวอร์) หรือสามารดูได้ที่เวบไซต์กรมส่งเสริมการส่งออก คลิกที่นี่
นอกจากนี้ กรมเศรษฐกิจระหว่างประเทศ กระทรวงการต่างประเทศ ได้จัดตั้งศูนย์บริการข้อมูลธุรกิจ หรือ Business Information Center (BIC) สำหรับประเทศแคนาดา ซึ่งสามารถสืบค้นข้อมูลประเทศ รวมถึงข้อมูลโอกาสทางการค้าการลงทุนต่างๆ กฏระเบียบท้องถิ่น ได้ที่ ศูนย์บริการข้อมูลธุรกิจ – สถานกงสุลใหญ่ ณ นครแวนคูเวอร์ คลิกที่นี่

อ้างอิงจาก: Thailand Board of Investment North America

Friday, August 31, 2012

Starting A Business in Canada

Starting A Business in Canada (BC)

There are 3 Steps in Starting a Business

  1. Select your business name and get it approved
  2. Register your business
  3. Get your license 



 

Selecting a name for your business
Perhaps by this point you have already chosen, or are thinking about, a name for your business. The first step in the registration process is securing approval of your business name.  You must have your name approved if you are:
• Incorporating a company, society or cooperative
• Registering a Partnership or Sole Proprietorship
[Download Name Approval Form]

Filling out the Name Approval Request formYou may put up to three choices of names on a Name Approval Request form. We strongly suggest you use all three choices in order of preference. The Corporate Registry will only examine the request until a name is approved - if your first choice is approved they do not search the remaining two. Your name must have two components. The first part of your name must start with a distinctive non-descriptive word or phrase. e.g.: a geographical location, your name, a made up word or phrase, or initials.
The second part of your name must describe what type of business you are in, e.g.: shoe store, investments, or doggy wash. A name that would meet the criteria would be John's Shoe Store or Vancouver Doggy Wash. Names that would not be approved are The Shoe Store or The Doggy Wash.
If you are incorporating a company you must add a third component called the corporate designation: e.g. Limited, Ltd., Corporation, Corp., Incorporated, Inc.
If you are registering a Sole Proprietorship or Partnership, a corporate designation is not used.

Processing of your Name Approval Request form.
If your request was mailed to the Corporate Registry, it normally takes two weeks to process the request and have your results mailed back to you.  If you are doing your Name Approval at the Richmond Chamber of Commerce, the staff will contact you when your results are in – this can take from 48 to 72 hours. If you would like your request to be given priority status there is an extra charge of $100 - results within 24 hours. 

Expiry date
If one of your names is approved, the name will be reserved for 56 calendar days. During this time you must submit your declaration form for a Sole Proprietorship or Partnership. This can be done on-line at www.onestopbc.ca.  You may mail a registration form to Ministry of Finance, Corporate and Personal Property Registries, PO Box 9431 Stn Prov Govt, Victoria, BC  V8W 9V3.  You must register your incorporation on-line at www.corporateonline.gov.bc.ca.  Paper filings are no longer accepted. If your documentation is not submitted within the 56 days, your name reservation will expire. Another name reservation fee will be required if you wish to continue.


Use of a Name
Until your company is incorporated, or your Sole Proprietorship or Partnership is registered, you should not invest any money on the name, e.g.: signs, printing and advertising. The name is only on reserve and can be cancelled prior to Incorporation or registration. It is important to know that business names registered as proprietorship/general partnership do not have the same protection as corporate names. A corporation may be registered under the same name as a business – but a business name won't be accepted if it can be confused with a corporate name.


Trademarks
It is also important not to confuse a business name/trade name (either a sole proprietorship/general partnership or a corporation) with a trademark. A trademark is a word, symbol, or design, or combination of these, used to distinguish wares or services from others in the marketplace. Only the registration of a trademark gives its owner exclusive rights of use. More information on trademarks may be found at:  www.cipo.gc.ca



The Richmond Chamber of Commerce's Business Resource Centre can help you get started. [Click Here]
Refer to Small Business BC for more information [Click Here]

Credited:  Richmond Chamber of Commerce

ขั้นตอนการจัดตั้งธุรกิจขนาดเล็กในมณฑลบริติชโคลัมเบีย
ผู้ประกอบการควรเลือกว่าจะเปิดดำเนินธุรกิจในรูปแบบใด ดังต่อไปนี้

1. Sole Proprietorship ผู้ประกอบการเป็นผู้ดำเนินธุรกิจด้วยตนเอง โดยอาจใช้ชื่อธุรกิจหรือชื่อตนเองในการประกอบการ
2. Partnership ผู้ประกอบการเป็นผู้ดำเนินธุรกิจร่วมกันกับหุ้นส่วนหนิ่งคนหรือมากกว่าหนิ่งคนขิ้นไป
3. Corporation ผู้ประกอบการดำเนินธุรกิจโดยทรัพย์สินต่างของธุรกิจจะแยกจากกันโดยสิ้นเชิงกับทรัพย์สินส่วนบุคคลของผู้ประกอบการ
4. Society ผู้ประกอบการดำเนินธุรกิจโดยไม่หวังผลกำไร และเงินรายได้ต่างๆจะนำไปใช้จ่ายเพื่อประโยชน์ของสังคม
5. Co-operative เป็นธุรกิจที่หลายคนเป็นเจ้าของร่วมกันและดำเนินการร่วมกันคล้ายสหกรณ์
    ข้อแตกต่างที่สำคัญระหว่าง Corporation และ Sole Proprietorship หรือ Partnership คือ Corporation หุ้นส่วนต่างๆไม่ต้องรับผิดชอบต่อหนี้สินที่เกิดขึ้นจากการดำเนินธุรกิจ (นอกจากจะมีการระบุชัดเจนในสัญญาหรือเอกสารในการดำเนินกิจการ) ดังนั้นหากหุ้นส่วนรายใดถอนตัวหรือถูกทดแทนก็จะไม่กระทบกับธุรกิจที่ดำเนิน อยู่
  

การขอจดทะเบียนธุรกิจ 

    การตั้งชื่อธุรกิจที่นอกเหนือจากการใช้ชื่อ-สกุลของผู้ประกอบการ จะต้องจดทะเบียน และได้รับการอนุมัติจากจาก BC Registry Services เพื่อที่จะใช้เป็นเอกสารประกอบในการเปิดบัญชีธนาคาร การขอกู้เงิน และอื่นๆ ในการขอจดทะเบียนธุรกิจมีอยู่ 2 ขั้นตอนดังนี้

1. เลือกชื่อธุรกิจ
    ขั้นตอนแรกในการขอจดทะเบียนธุรกิจ คือ การตั้งชื่อธุรกิจ โดยผู้ประกอบการสามารถสมัครออนไลน์ได้จากเว็บไซด์ของ B.C. Registry Services หรือสมัครด้วยตนเองที่ Small Business BC การอนุมัติชื่อธุรกิจจะป้องกันไม่ให้เกิดการซ้ำซ้อนหรือความสับสนกับลักษณะ กิจการนั้นๆ และมีการบันทึกข้อมูลของผู้ประกอบการ  การตั้งชื่อธุรกิจประเภท Sole Proprietorships และ Partnerships อาจจะเกิดการซ้ำซ้อนกันได้ เนื่องจากกฏหมายมิได้คุ้มครองในส่วนนี้  นอกจากธุรกิจประเภท Corporation เท่านั้นที่มีการป้องกันมิให้มีชื่อที่ซ้ำกัน
    หมายเหตุ หากผู้ประกอบการใช้ชื่อ-สกุลของตนเองเป็นชื่อธุรกิจดำเนินการในแบบ Sole Proprietor (Self-Employed Person หรือ Independent Contractor) แล้วไม่จำเป็นต้องขอจดทะเบียนธุรกิจ ผู้ประกอบการสามารถยื่นขอจดทะเบียนผู้เสียภาษี Provincial Sales Tax (PST) และ Goods and Services Tax (GST) ได้เลยรวมทั้งใบขออนุญาตประกอบการธุรกิจนั้นด้วย

2. การขอจดทะเบียนธุรกิจ
เมื่อชื่อธุรกิจได้รับการอนุมัติแล้ว ผู้ประกอบการมีเวลา 56 วัน ในการขอจดทะเบียนบริษัทกับ BC Registry Services
หากผู้ประกอบการเลือกประกอบธุรกิจในรูปแบบ Sole Proprietorship หรือ Partnerships สามารถยื่นขอจดทะเบียนได้ 3 ทางเลือกดังนี้
1. ขอจดทะเบียนออนไลน์ได้จากเว็บไซด์ของ OneStop Business Registry
2. ขอจดทะเบียนด้วยตนเองที่ Small Business BC
3. ส่งไปรษณีย์ไปที่ B.C. Corporate Registry
หากผู้ประกอบการเลือกประกอบธุรกิจในรูปแบบ Corporation สามารถยื่นขอจดทะเบียนได้ 3 ทางเลือกดังนี้
1. ขอจดทะเบียนออนไลน์ได้จาก Self-incorporation online at Corporate Online2. กรอกใบสมัครในคู่มือ EasyKits Incorporation Kit for British Columbia by Simply Legal
3. ติดต่อขอให้ทนายความเป็นผู้จัดการให้โดยสามารถติดต่อผ่าน Lawyer Referral Service

หากผู้ประกอบการเลือกประกอบธุรกิจในรูปแบบ Society สามารถยื่นขอจดทะเบียนได้ 2 ทางเลือกดังนี้
1. สำหรับระดับภาคจังหวัด กรุณาอ้างอิงเว็บไซด์ B.C. Corporate Registry   
2.สำหรับระดับภาครัฐ กรุณาอ้างอิงเว็บไซด์ Corporations Canada
หากผู้ประกอบการเลือกประกอบธุรกิจในรูปแบบ Corporatio Co-operative สามารถยื่นขอจดทะเบียนได้จากเว็บไซด์ B.C. Corporate Registry

ใบอนุญาตประกอบกิจการ 

แต่ละท้องถิ่นในจังหวัดบริติชโคลัมเบียจะกำหนดให้ทุกกิจการต้องมีใบอนุญาตประกอบกิจการบนพื้นที่ของเจ้าของกิจการนั้นๆ
เจ้าของ กิจการควรจะติดต่อ City Hall ในพื้นที่ของตนว่าควรต้องมีใบอนุญาตใดบ้างสำหรับกิจการของตน แต่ละพื้นที่ประกอบกิจการจะมีใบอนุญาตแตกต่างกันไป  นอกจากนี้ยังอาจมีข้อกำหนดเพิ่มเติมจากภาครัฐ ภาคจังหวัด และภาคท้องถิ่นสำหรับธุรกิจบางประเภทอีกด้วย ดังนั้นผู้ประกอบการควรขอคำแนะนำจากผู้ที่เกี่ยวข้อง

การขอจดทะเบียนภาษี PST/HRT

    การขอจดทะเบียนภาษี PST, HRT และภาษีอื่นๆนั้นจะขึ้นอยู่กับประเภทของธุรกิจ โดยผู้ประกอบการจะต้องขอจดทะเบียนกับ Ministry of Small Business and Revenue แม้ธุรกิจบางประเภทจะถูกงดเว้นภาษี PST แต่ผู้ประกอบการก็ต้องทำการจดทะเบียนดังกล่าว 

การขอจดทะเบียนภาษี GST 

    ธุรกิจที่มีรายได้มากกว่า CAD$30,000 ต่อปีจะต้องเสียภาษี GST โดยผู้ประกอบการจะต้องขอจดทะเบียนกับ Canada Revenue Agency 

การขอจดทะเบียนอื่นๆ 

    ผู้ประกอบการอาจต้องขอจดทะเบียนอื่นๆอีก เช่น จดทะเบียนภาคจังหวัด จดทะเบียนภาครัฐ จดทะเบียนท้องถิ่น
หาก ผู้ประกอบการได้มีการว่าจ้างลูกจ้าง ผู้ประกอบการจะต้องขอจดทะเบียนและจ่ายเบี้ยประกันภัยกับ WorkSafeBC เพื่อเป็นการคุ้มครองผู้ประกอบการ และลูกจ้างในกรณีบาดเจ็บ หรือเกิดโรคภัยขึ้น แต่หากผู้ประกอบการเป็นผู้ทำงานเองแต่ผู้เดียว (self-employed) จะต้องขอจดทะเบียนกับ WorkSafeBC’s Personal Optional Protection
    หากผู้ประกอบการได้มีการว่าจ้างลูกจ้าง และมีการจ่ายเงินเดือน เงินรายชั่วโมง โบนัส เงินพักร้อน เงินทิป รวมทั้งจัดหาที่พักให้แก่ลูกจ้าง ผู้ประกอบการจะต้องขอจดทะเบียนกับ Canada Revenue Agency เพื่อเป็นข้อมูลสำหรับภาษีเงินได้ เงินบำนาญ (CPP) และเงินประกันสังคม (EI)
หากธุรกิจเป็นรูปแบบบริษัทนิติบุคคล หรือเป็นบริษัทต่างชาติที่เข้ามาดำเนินการในแคนาดา ผู้ประกอบการจะต้องขอจดทะเบียนภาษีเงินได้นิติบุคคลกับ Canada Revenue Agency
    หากธุรกิจเป็นรูปแบบนำเข้า หรือส่งออกสินค้า ผู้ประกอบการจะต้องขอจดทะเบียนกับ Canada Border Services Agency (CBSA)
    หากธุรกิจเป็นประเภทร้านอาหาร โดยขายอาหารเป็นหลัก และมีเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ขายเสริมรายได้ด้วย ผู้ประกอบการจะต้องขอจดทะเบียน Restaurant (Food-Primary) Liquor Licence

อ้างอิงจาก: Royal Thai Consulate General Vancouver Canada