Monday, July 2, 2012

"เวลา ที่เหลือ" กับสถานที่ "Hospice" ตอน1

*** เรื่องนี้เขียนเอาไว้ตั้งแต่ปี 2012 แต่ไม่กล้าโพสท์ ด้วยเหตุผลบางอย่าง ณ วันนี้ ผู้เขียนคิดว่าน่าจะมีประโยชน์กับผู้คนอีกมาก 

In Loving Memory of Marlie Doyle Cormack
Peacefully, at Arch Hospice in Sault Ste Marie ON, with family at her side. 
Devoted wife and best friend of Jack. Much loved and loving mother of Chris Cormack (Darlene) of Sudbury ON and Mike Cormack (Nasha) of Vancouver BC. Dear grandmother of Michael Cormack of Red Deer AB, and Ryan Cormack and Nathan Cormack, both of Sudbury. Marlie was the eldest child of the late Bill and Rita Doyle of Smiths Falls ON, who predeceased her in 2003. She is survived by her brother Bill Doyle (Judy) of Lombardy ON and her sister Kathryn Doyle (Greg Allan) of Ottawa ON, by Jack's sisters Jane Fourchalk (Gerry), Fay Walton (Frank), Frances Millard, and brother Larry Cormack (Ada), as well as many nieces, nephews, cousins and friends. Predeceased by her sister Carly (died in infancy), her cherished aunt Kay Huot, as well as her grandparents and many aunts and uncles.
Marlie will be sadly missed by her family and dear friends.
Born
November 25th, 1941
Smiths Falls, ON
Entered into rest
August 8th, 2012
Blair & Son Smiths Falls ON
Interment
St. Francis Cemetery
      
ชีวิตคนเราอาจเปรียบได้กับไม้ขีดไฟ
ก้านไม้ขีด..ก็เหมือนกันเวลาชีวิตของเรา
เวลาชีวิตของเรา..หากมองจริงๆ ก็แสนจะสั้นเหลือเกิน เมื่อเรามีบางสิ่งบางอย่างทำ
บางคน..อาจมองว่าชีวิตของเรา ทำไมมันช่างแสนจะยาวนานนัก
เพราะนั่น..คือการที่เรายังไม่ได้จุดไม้ขีดไฟ
เมื่อเกิดการเสียดสีกับกล่องไม้ขีด ไฟก็จะลุกโชน
ในช่วงเวลาที่เราเริ่มจุดไม้ขีดนั้น
ไม้ขีดบางอัน ก็อาจจะลุกติดในทันที แต่บางอัน ก็ต้องใช้เวลานานกว่าจะติด
ไฟ..ก็เปรียบเสมือนงาน หรือจุดมุ่งหมายของเรา 

บางคน...กว่าจะค้นหาเป้าหมายของตัวเองเจอ ก็ช่างนานแสนนาน
และเมื่อจะเริ่มทำเป้าหมายที่วางไว้ให้สำเร็จ..หัวไม้ขีดก็เก่าเสียแล้ว
จะจุดไม้ขีดก็ต้องยากเป็นธรรมดา
เมื่อไฟลุกติด..เมื่อเราเริ่มทำความฝันให้เป็นความจริง
ไฟก็จะมอดก้านไม้ขีด..เวลาแห่งชีวิต เวลาแห่งอิสระก็เริ่มจะสั้นลงๆ
ขณะที่ไฟลามไปยังก้านไม้ขีด
บางอันอาจจะช้า บางอันอาจจะเร็ว ก็ขึ้นอยู่กับสิ่งต่างๆ
ตอนที่ไฟลุกอยู่...อาจจะมีลมแรงพัดผ่านเข้ามา อาจจะมีฝนตก ไฟก็อาจจะดับได้
เมื่อลุกมาถึงกลางก้านไม้ขีดแล้ว ก็เป็นไปไม่ได้ที่ไฟจะกลับมาลุกโชนอีกครั้งได้ง่ายๆ
ก็จำเป็นต้องพึ่งไม้ขีดอีกอัน พึ่งเพื่อนรักของเรา มาประคองไฟให้ลุกใหม่ได้อีกครั้ง
เมื่อจุดหมายของเราใกล้จะประสบความสำเร็จ ก้านไม้ขีดที่เหลือก็มีอยู่น้อยเต็มทีแล้ว
แต่เมื่อใดที่ไฟสุดท้ายของไม้ขีดดับมอดลง เมื่อวาระสุดท้ายของคนเรามาถึง
ก็จำเป็นที่จะต้องจากไป
แต่ประโยชน์ที่เราสร้างไว้ จุดหมายที่ประสบความสำเร็จ ไฟที่สร้างความสว่างไสวเอาไว้
แม้จะเป็นแค่เพียงไฟดวงเล็กๆ แต่ก็ได้สร้างประโยชน์เอาไว้ให้แก่คนรอบข้าง
และบางที
ก้านไม้ขีดไฟอันนี้ก็อาจนำไปเพื่อจุดกองไฟกองโต
เพื่อความสว่างไสวและอบอุ่นของคนมากมาย..ตลอดคืน 


ก่อนที่จะเริ่มเขียน(พิมพ์)บทความต่อไปนี้ต้องกราบขออภัยผู้ที่เกี่ยวข้องและบุคคลในเรื่องที่จะเขียน จุดประสงค์ก็คือเพื่อเป็นวิทยาทานสำหรับผู้ที่กำลังประสบกับปัญหาภาวะสภาพแวดล้อมเดียวกัน

ประมาณปลายๆเดือนกุมภาพันธ์ 2012 ผู้เขียนและคุณไมค์(สามี)กลับมาจากแม๊กซิโก Puerto Vallarta


เสียงโทรศัพย์ดัง ปกติไมค์จะเป็นคนรับ เพราะออฟฟิศ อยู่ที่บ้าน ทำงานที่บ้าน(คอมพิวเตอร์กราฟฟิค)โชคดีหน่อยตรงที่ไม่ต้องขับรถหรือเดินทางไปทำงาน จะเริ่มทำงานเมื่อไหร่เวลาไหนก็ได้ คุณพ่อสามีโทรมาบอกว่ามั้มล้มในห้องน้ำ แต่ไม่เป็นอะไรมากแค่ฟกช้ำทายาไม่กี่วันก็หาย ผ่านไปสองอาทิตย์ เราสองคนโทรถามข่าวความคืบหน้าสม่ำเสมอ อาการมั้มเริ่มดีขึ้นเป็นลำดับ แต่อยู่ๆอาการปวดหลังก็กลับมาเยือนอีกครั้ง ครั้งนี้คุณหมอจำเป็นต้องเอกซเรย์ เช้าวันนึงต้นๆเดือนมีนาคมคุณไมค์รับโทรศัพท์ ผู้เขียนขณะนั้นทำงานอยู่ในครัว ล้างจาน ทำความสะอาดห้องครัวตามปกติ เห็นคุณไมค์วางโทรศัพย์มือทั้งสองทาบไว้ที่หน้าด้วยอาการของคนที่ช๊อค มือที่เคยแกร่ง มั่นคง เข้มแข็งไม่เคยหวั่นไหว เป็นคนช่างพูด ช่างสนทนา อัธยาศัยดี คุยได้กับทุกคน จากเด็กเล็กๆ จนถึงผู้สูงอายุ ณ.เวลานี้กับข่าวสะเทือนใจที่ได้รับ คุณแม่อันเป็นที่รักยิ่ง ต้องมาเผชิญกับความเจ็บป่วยด้วยโรคมะเร็ง คุณไมค์เปลี่ยนเป็นคนซึมเศร้า ไม่อยากออกไปไหน กับข่าวที่ได้รับ หลังจากนั้นคุณหมอได้ดำเนินการรักษาตามขั้นตอน ก่อนอื่นต้องขอหยิบยกความหมายของมะเร็งโดยย่อน่ะค่ะ

 มะเร็งคืออะไร มะเร็ง คือ กลุ่มของโรคที่เกิดเนื่องจากเซลล์ของร่างกายมีความผิดปกติ ที่ DNA หรือสารพันธุกรรม ส่งผลให้เซลล์มีการเจริญเติบโต มีการแบ่งตัวเพื่อเพิ่มจำนวนเซลล์ รวดเร็ว และมากกว่าปกติ ดังนั้น จึงอาจทำให้เกิดก้อนเนื้อผิดปกติ และในที่สุดก็จะ ทำให้เกิดการตายของเซลล์ในก้อนเนื้อนั้น เนื่องจากขาดเลือดไปเลี้ยง เพราะการ เจริญเติบโตของหลอดเลือด ถ้าเซลล์พวกนี้เกิดอยู่ในอวัยวะใดก็จะ เรียกชื่อ มะเร็ง ตามอวัยวะนั้นเช่น มะเร็งปอด มะเร็งสมอง มะเร็งเต้านม มะเร็งปากมดลูก มะเร็ง เม็ดเลือดขาว มะเร็งต่อมน้ำเหลือง และมะเร็งผิวหนัง เป็นต้น เท่าที่มีรายงานไว้

ขณะนี้ มะเร็งที่พบในร่างกายมนุษย์มีมากกว่า 100 ชนิด มะเร็งแต่ละชนิดจะมีการ ดำเนินของโรคไม่เหมือนกัน เช่น มะเร็งปอด มะเร็งสมอง จะมีการดำเนินชนิดของ โรค ที่รุนแรง ผู้ป่วยจะมีชีวิตการอยู่รอดสั้นกว่าผู้ป่วยมะเร็งผิวหนัง เป็นต้น ดังนั้น การรักษามะเร็งแต่ละชนิดจะไม่เหมือนกัน มีวิธีการรักษาที่แตกต่างกัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับอวัยวะที่เป็นมะเร็ง ระยะของมะเร็ง สภาพร่างกาย และความเหมาะสม ของผู้ป่วยมะเร็ง การรักษาจะยากหรือง่ายนั้นก็ขึ้นอยู่กับชนิดของเซลล์มะเร็งและ การดำเนินโรคของมะเร็งด้วย เช่น มะเร็งต่อมน้ำเหลือง มะเร็งผิวหนัง รักษาง่ายกว่า มะเร็งปอด มะเร็งสมอง เป็นต้น

มะเร็งที่รักษาให้หายได้ ปัจจุบันนี้ แพทย์สามารถรักษามะเร็งหลายชนิดให้หายได้ หรืออย่างน้อยก็ ทำให้ ผู้ป่วยมะเร็งมีชีวิตการอยู่รอดที่ยาวนานเท่ากับบุคคลปกติที่อยู่ในวัยเดียวกัน ทั้งนี้ก็ต้องขึ้นอยู่กับชนิดของมะเร็ง ระยะของมะเร็งที่พบ เพราะมะเร็งระยะ เริ่มแรกย่อมมีการตอบสนอง ต่อการรักษาหรือมีโอกาสหายมากกว่าระยะลุกลาม หรือระยะสุดท้าย

 มะเร็งต่าง ๆ ที่สามารถรักษาให้หายได้ในปัจจุบันนี้ ที่สำคัญ มีดังนี้ มะเร็งเม็ดเลือดขาวแบบเฉียบพลันชนิดลิมป์โฟไซติค ลิวคีเมีย มะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิดฮอร์ดกิ้น มะเร็งไตในเด็กชนิด วิมส์ ทูเมอร์ มะเร็งลูกอัณฑะ มะเร็งกระดูก ชนิด อ๊อสติโอเจนนิค ซาร์โคม่า มะเร็งรังไข่ชนิดเนื้อเยื่อบุผิว มะเร็งผิวหนังบางชนิดเช่น Basal cell carcinoma มะเร็งเต้านม มะเร็งปอดชนิด Small cell มะเร็งหลังโพรงจมูก มะเร็งชนิดเนื้อเยื่อ Germ cell การตรวจหามะเร็งในระยะเริ่มแรก เป็นการตรวจสุขภาพทั่วไปในผู้ที่มีอาการปกติ เพื่อค้นหาความผิดปกติของร่างกาย ซึ่ง อาจเกิดขึ้นได้อย่างไม่รู้ตัว โดยเฉพาะโรคมะเร็ง ทั้งนี้เพื่อหวังผลในการรักษา เนื่อง จากโรคมะเร็งสามารถรักษาให้หายขาดได้ หากพบในระยะเริ่มแรก หรือยิ่งพบโรคได้ เร็วเพียงใด ชีวิตก็ปลอดภัยมากขึ้นเพียงนั้น


การตรวจค้นหามะเร็งระยะเริ่มแรก มีหลักการดังนี้
1. การสอบถามประวัติโดยละเอียด
2. การตรวจร่างกายโดยละเอียด
3. การตรวจทางห้องปฏิบัติการA

1. การสอบถามประวัติโดยละเอียด มีความสำคัญเนื่องจาก อาจเป็นแนวทางเบื้องต้นที่ช่วยในการวินิจฉัยได้ เช่น
 1.1 ประวัติครอบครัว มะเร็งส่วนใหญ่ไม่ใช่โรคที่สืบเนื่องโดยตรงเกี่ยวกับพันธุกรรม แต่มีมะเร็งบางอวัยวะมี ความโน้มเอียงที่จะเกิดในพี่น้องครอบครัวเดียวกัน เช่น มะเร็งตาบางชนิด มะเร็งเต้านม มะเร็งลำไส้ใหญ่ เป็นต้น
1.2 ประวัติสิ่งแวดล้อม มีข้อสังเกตว่าสิ่งแวดล้อมบางอย่างเป็นเหตุส่งเสริมให้เกิดโรคมะเร็งบางชนิดได้ เช่น ผู้ที่ทำงานเกี่ยวกับสารกัมมันตภาพรังสีเป็นระยะเวลานาน ๆ อาจเป็นโรคมะเร็ง เม็ดเลือดขาวมากกว่าผู้ที่ประกอบอาชีพอื่น
1.3ประวัติส่วนตัว อุปนิสัยและพฤติกรรมส่วนตัวของแต่ละบุคคลก็อาจเป็นเหตุสนับสนุนให้เกิดโรคมะเร็ง บางอย่าง เช่น - ผู้ที่สูบบุรี่มาก ๆ เป็นระยะเวลานาน ๆ จะมีโอกาสเป็นมะเร็งปอด มากกว่า ผู้ที่ไม่สูบ บุหรี่ - ผู้ที่มีประวัติการร่วมเพศตั้งแต่อายุน้อย มีประวัติสำส่อนทางเพศ , มีบุตรมากจะเป็น มะเร็งปากมดลูกได้มากกว่าผู้ที่ไม่เคยแต่งงาน - ท้องอืด เบื่ออาหาร ผอมลงมาก - เสียงแหบอยู่เรื่อย ๆ ไอเรื้อรัง - หูด หรือปานที่โตขึ้นผิดปกติ - การเปลี่ยนแปลงในการถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะผิดไปจากปกติ
1.4 ประวัติเกี่ยวกับอาการเจ็บไข้ต่าง ๆ - เป็นตุ่ม ก้อน แผล ที่เต้านม ผิวหนัง ริมฝีปาก กระพุ้งแก้มหรือที่ลิ้น - ตกขาวมาก หรือมีเลือดออกทางช่องคลอดผิดปกติ - เป็นแผลเรื้อรังไม่รู้จักหาย

2. การตรวจร่างกายโดยละเอียด ช่วยในการวินิจฉัยโรคได้ แต่ในทางปฏิบัติ แพทย์ไม่สามารถจะตรวจร่างกายได้ ทุกอวัยวะ ทุกระบบโดยครบถ้วน จึงมีหลักเกณฑ์ว่า ในการตรวจร่างกายทั่วไปเพื่อตรวจ หามะเร็งระยะเริ่มแรกนั้น ควรตรวจอวัยวะต่างๆ เท่าที่สามารถจะตรวจได้ ดังนี้ - ผิวหนัง และเนื้อเยื่อบางส่วน - ศีรษะ และคอ - ทรวงอก และเต้านม - ท้อง - อวัยวะเพศ - ทวารหนัก และลำไส้ใหญ่ส่วนล่าง

3. การตรวจทางห้องปฏิบัติการและการตรวจอื่น ๆ
 3.1 การตรวจทางห้องปฏิบัติการ ช่วยในการตรวจค้นหา การวินิจฉัย การรักษา รวมทั้งการติดตามผลการรักษา โรคมะเร็งด้วย ได้แก่ - การตรวจเม็ดเลือด - การตรวจปัสสาวะ,อุจจาระ - การตรวจเลือดทางชีวเคมี
3.2 การตรวจเอ๊กซเรย์ มีประโยชน์ในการวินิจฉัยและรักษาโรคมะเร็งบางชนิด ซี่งมีวิธีการหลายอย่างเช่น - การเอ๊กซเรย์ปอด เป็นวิธีการพื้นฐานอย่างหนึ่ง ในการตรวจสุขภาพ - การเอ๊กซเรย์ทางเดินอาหาร ทำในรายที่มีปัญหาเกี่ยวกับทางเดินอาหาร - การตรวจเอ๊กซเรย์เต้านม เป็นการตรวจลักษณะความผิดปกติที่เต้านม
3.3 การตรวจทางเวชศาสตร์นิวเคลียร์ หลักสำคัญในการตรวจคือ ให้ผู้ป่วยกลืน , ฉีดสารกัมมันตภาพรังสีบางชนิด สารดังกล่าว จะไปรวมที่อวัยวะบางส่วน แล้วถ่ายภาพตรวจการกระจายของสารกัมมันตภาพรังสีนั้น ๆ เช่น การตรวจเนื้องอกของต่อมไทรอยด์ ,สมอง , ตับ , กระดูก เป็นต้น
3.4 การตรวจโดยใช้เครื่องมือพิเศษ เพื่อดูลักษณะเยื่อบุภายในของอวัยวะบางอย่าง เช่นหลอดลม หลอดอาหาร กระเพาะอาหาร ลำไส้ เป็นต้น
3.5 การตรวจทางเซลล์วิทยา และพยาธิวิทยา การตรวจทางเซลล์วิทยา เป็นวิธีการตรวจหา มะเร็งระยะเริ่มแรกของอวัยวะต่าง ๆ เช่น - การขูดเซลล์จากเยื่อบุอวัยวะบางอย่างให้หลุดออกมา เช่น ปากมดลูก , เยื่อบุช่องปาก เป็นต้น - เก็บเซลล์จากแหล่งที่มีเซลล์หลุดมาขังอยู่ เช่น ในช่องคลอด ในเสมหะ 3.6 การตรวจเนื้อเยื่อทางพยาธิวิทยา เป็นการตรวจที่สำคัญที่สุดในการวินิจฉัยโรคมะเร็ง โดยการตัด เนื้อเยื่อจากบริเวณที่ ่สงสัย ส่งตรวจละเอียดโดยกล้องจุลทรรศน์ อนึ่ง โรคมะเร็งอาจเกิดกับอวัยวะต่างๆ กัน มะเร็งบางอวัยวะอาจตรวจวินิจฉัยได้ง่าย บางอวัยวะตรวจได้ยาก แต่มีข้อสังเกตว่า มะเร็งที่พบได้บ่อย ๆ ในประเทศของเรา เช่น มะเร็งปากมดลูก มะเร็งเต้านม มะเร็งช่องปาก เป็นโรคที่ตรวจวินิจฉัยได้ไม่ยาก ถ้าสนใจตรวจสุขภาพเป็นประจำ ประโยชน์ของการตรวจค้นหามะเร็งระยะเริ่มแรก การตรวจค้นหามะเร็งระยะเริ่มแรกนั้นมีประโยชน์ เพราะมะเร็งระยะเริ่มต้น การรักษา ได้ผลดีมาก และเป็นการป้องกัน มิให้ผู้ป่วยเป็นโรคมะเร็งระยะลุกลาม ซึ่งจะเป็น อันตรายแก่ชีวิตได้

ข้อมูลข้างต้นถ้าเป็นมะเร็งชนิดเดียว เรายังพอมีหวังที่จะรักษาอาการป่วยให้หายขาด แต่มั้มท่านเป็นมะเร็งสามชนิด มะเร็งสมอง มะเร็งปอด และมะเร็งกระดูก ความทุกข์ทรมานที่ท่านได้รับจะมากมายเพียงใด คงยากที่จะหาคำพูดใดๆมาอธิบายเป็นตัวอักษรได้ หลังจากได้ผ่านกระบวนการรักษา ฉายแสง ผมที่เคยสลวย สวยงามเริ่มร่วง เวลาท่านออกไปช๊อปปิ้ง ซื้ออาหารท่านจะใส่วิก หลังจากนั้นเวลาผ่านไปไม่กี่อาทิตย์ สภาพร่างกายท่านเริ่มอ่อนแอลง ทานอาหารได้น้อยลง คุณไมค์เดินทางไปเยี่ยมครั้งแรกวันที่ 18 พฤษภาคม เป็นเวลาสองอาทิตย์ กลับแวนคูเวอร์ทำงานตามปกติ อาการของท่านเริ่มอ่อนแอลง ทานอาหารไม่ได้เป็นเวลาติดกัน 6สัปดาห์เดินไม่ได้ พูดคุยได้บ้างแต่จะรู้สึกเหนื่อยมาก ก่อนหน้านั้นคุณไมค์ได้พูดคุยติดต่อสอบถามอาการป่วยกับคุณแม่ พูดคุยได้ปกติ เราสองคนเริ่มหวั่นวิตก จองตั๋วเครื่องบินเก็บเครื่องใช้เสื้อผ้าเท่าที่จำเป็น เท่าที่ท่านผู้อ่านทราบดีว่าประเทศแคนาดากว้างใหญ่มาก ถ้าเทียบกับประเทศไทย แคนาดามีพื้นที่ใหญ่กว่าประเทศไทยเป็นสิบเท่า พื้นเพเดิมครอบครัวสามีอยู่ออตตาวา เมืองหลวงของแคนาดา เมื่อสี่ปีที่แล้วท่านทั้งสองได้ตัดสินใจย้ายตามลูกชายคนโตซึ่งทำงานในตำแหน่ง ATC(air traffic control)ไปอยู่ที่ Sault Ste.Marie Ontario.

วันศุกร์ที่ 8 มิถุนายน 2555 เวลา 9:15น. เราสองคนเดินทางจากคอนโดฯไปสนามบินแวนคูเวอร์
ใช้เวลาแค่ 10 นาทีโดยแท๊กซี่ เช็คอินเรียบร้อย ผ่านขั้นตอนระบบรักษาความปลอดภัยขึ้นเครื่องเมื่อเวลา 11:15น.ถึงสนามบิน Toronto Pearson Airport

                   
            
18.20น. เรามีเวลาไม่ถึงชั่วโมงเพื่อเปลี่ยนเครื่องไป Sault Ste.Marie ขึ้นเครื่องบินเล็กเวลา 19:10น.ใช้เวลาบิน 1ชั่วโมงครึ่งถึงที่หมายด้วยความปลอดภัย

หลังจากนั้นนั่งแท๊กซี่ประมาณ 40นาทีถึงบ้านรีบปิ่งไปดูอาการมั้มทันที ไมค์เข้าไปสวมกอด เห็นแล้วน้ำตาเจ้ากรรมพาลจะไหล เห็นความอบอุ่นของครอบครัวนี้มาตลอด แด๊ดบอกดีที่มั้มจำเราได้เรียกชื่อเราทั้งสองคนได้อย่างแม่นยำ เพราะก่อนหน้า...ที่เราจะไปถึงท่านจำไม่ได้แม้แต่ชื่อแด๊ด ผู้เขียนวิเคราะห์ดูจากที่เห็นกล่องขนาดใหญ่ที่วางไว้ที่ห้องรับแขก ภายในบรรจุไปด้วยยาสารพัดชนิด อุปกรณ์อาทิเช่น เข็มฉีดยา สายยาง ฯลฯว่าอาการที่มั้มเป็นอยู่ขณะนี้คือหลง ลืม สับสน อาจเนื่องมาจากสารเคมีที่ได้รับในการระงับความเจ็บปวด มากเกินไปในร่างกาย วันเสาร์ที่ 19 มิถุนายน 2555 พี่เขย(ซึ่งทำงานATCได้ย้ายไปอยู่อีกเมืองชื่อ Sudbury เพลนการเดินทางว่าจะมาเยี่ยมในวันอาทิตย์ที่ 20 ได้เปลี่ยนแผนใหม่เลื่อนเป็นวันเสาร์ที่ 19ขับรถประมาณ4ชม)

วันแรกที่ถึงตื่นเช้ามั้มอาการดีขึ้นมาก คุยได้มากขึ้นแต่บางครั้งท่านคุยและถามคำถามบางอย่างที่เราทุกคนไม่สามารถตอบได้ สายหน่อยผู้เขียนกับแด๊ดซึ่งท่านก็อายุได้ 79 ปีแล้วแต่ก็แข็งแรงชวนกันไปช๊อปปิ้ง ผู้เขียนอาสาไปกับคุณพ่อให้คุณไมค์อยู่กับคุณแม่ เพราะในขณะที่พวกเราไม่อยู่ ปกติท่านอยู่กันสองคน ซึ่งเป็นปกติของชาวแคเนเดี้ยนลูกๆเมื่อโตขึ้นแต่งงานต่างก็แยกย้ายกันไปสร้างครอบครัวใหม่ เมื่อคุณแม่ไม่สบาย ผู้ที่รับผิดชอบทุกอย่างก็คือคู่ชีวิต แด๊ดจะได้ไปพักผ่อน คลายเครียด จากความกังวลชั่วคราวไม่กี่ชั่วโมงก็ยังดี ไปซื้อกับข้าวไปนั่งทานอาหารกลางวันกัน อยู่ๆในขณะเดินคุณพ่อก็เอ่ยขึ้นว่าอยากให้มีปาฏิหาริย์ พวกเราก็หวังให้เป็นอย่างนั้นตกเย็นวันนี้อากาศดี พี่ชายมาถึงประมาณ 4 โมงเย็น พยาบาลมาเยี่ยมผู้ป่วยที่บ้านทุกวัน หลังจากพยาบาลกลับไปแล้ว เราทั้งสี่คน...คุณพ่อพี่ชายคุณไมค์ และผู้เขียนนั่งสนทนาปรึกษาว่าเราจะทำอย่างไรกันดี วางแผนล่วงหน้า อาการคุณแม่ไม่ดีขึ้นเลยคุณหมอบอกต้องทำใจ และให้การแนะนำในเรื่องของ Hospice care ผู่อ่านบางท่านอาจไม่คุ้นกับคำนี้นัก ผู้เขียนก็เช่นกันไม่เคยทราบมาก่อนเลยว่าคืออะไรคุณไมค์และพี่ชายเล่าให้ฟังคร่าวๆ ผู้เขียนเสิร์จหาจาก Google ข้อมูลภาษาไทยอ่านได้จากลิ้งค์นี้น่ะค่ะ
http://budnet.org/peacefuldeath/node/144
ข้อมูลภาษาอังกฤษที่เราปรึกษากันที่จะพามั้มมาอยู่ที่นี่
http://www.algomahospice.shawbiz.c

 

วันอาทิตย์ 20 มิถุนายน 2555 เมื่อคืนหลับสบายเพราะเหนื่อยมาก อ้อ...ลืมไปพยาบาลโทรมาเมื่อคืนว่าแด๊ดมีนัดที่ Hospice care สามหนุ่มพ่อลูกเตรียมตัวเพื่อไปดูสถานที่และร่วมกันตัดสินใจว่าจะพาคุณแม่ไปพักที่นี่หรือเปล่า ถ้าเป็นความเห็นของคนไทย บางท่านอาจไม่เห็นด้วยน่ะค่ะ เพราะเหมือนกับว่าเราทิ้งผู้ป่วยไว้กับคนแปลกหน้าไม่ใช่คนในครอบครัว แต่สถานที่แห่งนี้ครอบครัวพักได้ด้วย เพียงแต่ว่าคนในครอบครัวไม่ต้องกังวลในเรื่องของการเจ็บปวด ทรมาน ของผู้ป่วยมีคุณหมอ พยาบาลดูแลตลอด 24 ชั่วโมง จุดประสงค์อีกอย่างที่เราทั้งหมดปรึกษากันก็คือ ในเมื่อในความเป็นจริงเราไม่สามารถยืดเวลาของคุณแม่ได้สิ่งที่สำคัญรองลงมาขณะนี้คือพยายามให้คุณพ่อไม่กังวลและคิดมากแต่เราปรึกษากันก่อนแล้วว่า สิ่งที่เราจะทำนี้เป็นผลดีสำหรับทุกๆคน วันนี้ผู้เขียนจึงมีหน้าที่เป็นพยาบาล


ช่วงที่สามหนุ่มออกไปติดต่อเรื่องเอกสารและดูสถานที่ สิ่งที่ผู้เขียนกังวลก็คือเวลาที่มั้มต้องการเข้าห้องน้ำ เพราะอย่างต่ำต้องใช้สองคนขึ้นไปเพราะร่างกายมั้มอ่อนเพลียอ่อนแรงมากและรูปร่างใหญ่กว่าผู้เขียนมาก แล้วยังต้องกังวนเรื่องสายน้ำเกลือด้วยจึงไม่ปลอดภัยแน่นอนในการที่จะพยุงมั้มเพียงลำพัง สามหนุ่มเพิ่งออกจากบ้านไปประมาณ 20 นาทีผู้เขียนจึงจำเป็นต้องโทรบอกให้รีบกลับ อนึ่งผู้เขียนอยากจะเล่าความรักที่แท้จริงของมั้มกับแด๊ด แด๊ดเป็นทหารอากาศและแน่นอนที่สุดท่านเป็นคนมีระเบียบวินัย มั้มเป็นแม่บ้านที่ดูแลบ้านดูแลสามีได้อย่างไม่มีที่ติ ฐานะปานกลาง ประทับใจมั้มมากเรื่องเสื้อผ้าการแต่งกายของลูกชายทั้งสองคนมั้มจะใส่ใจเป็นพิเศษ ในเรื่องของสีที่เข้าชุดกัน สไตล์เรียบร้อย มั้มรักลูกเป็นที่สุด จะเห็นทั้งคู่ไปไหนไปด้วยกันตลอดเกือบ 50 ปีที่แต่งงานกันมา เมื่อถึงเวลาที่มั้มป่วย แด๊ดเป็นคนเดียวที่ใกล้ชิดที่สุด คอยให้กำลังใจพยายามเล่าเรื่องต่างๆให้ขำ ให้มั้มได้หัวเราะตลอดเวลาเพื่อลืมความเจ็บปวดได้ชั่วขณะ อาการของมั้มดีขึ้นมากอาจเป็นเพราะได้กำลังใจจากครอบครัวและคนข้างเคียง เราทั้งหมดดีใจและคิดว่ามันน่าจะมีปฏิหาร์แต่ในความเป็นจริงเราก็รู้ว่า เปอร์เซ็นต์ที่มั้มจะมีชีวิตอยู่น้อยมาก ผู้เขียนเสียคุณแม่ไปเมื่อ 8 ปีที่แล้วเข้าใจดีในสถานการณ์แบบนี้เป็นความยากลำบากของครอบครัวแต่ละครอบครัวที่เผชิญกับสิ่งที่ทุกคนไม่ต้องการให้เกิดขึ้น ผู้เขียนเป็นเพียงลูกสะใภ้ บางครั้งจะแค่แอบมองดูอยู่ใกล้ๆอยากให้แม่-ลูกได้ใช้เวลาด้วยกันให้มากที่สุด เราไม่สามารถรู้ได้มั้มจะอยู่กับพวกเราได้นานแค่ไหน อาทิตย์ เดือน ปี แต่ทุกคนพยายามให้มั้มได้รับความรัก ความอบอุ่นให้มากที่สุด

วันจันทร์ที่ 11 มิถุนายน 2555 วันนี้เป็นวันสุดท้ายแล้วที่ผู้เขียนจะอยู่ที่นี่ พรุ่งนี้ถึงกำหนดกลับแวนคูเวอร์ เพื่อกลับไปทำงานแล้ว คุณไมค์ดีหน่อยที่หิ้ว laptop มาด้วยก็ทำงานได้แล้ว วันนี้อาการมั้มคงที่ ผู้เขียนหยิบกล้องตะเวณถ่ายรูปรอบๆบริเวณบ้านไม่มีอะไรมากนักเพราะเป็นเมืองเล็กๆประชากรที่นี่ 75,000 คนแต่ก็มีครบทุกอย่าง สถานที่ช๊อปปิ้ง โรงพยาบาล สถานที่ราชการ อาจจะเหมาะสำหรับเวลาที่เกษียณแล้ว สงบดี ไว้อ่านต่อตอน 2 น่ะค่ะ

หมายเหตุ: กรณีเรียก มั้มและแด๊ด เพื่อไม่ให้สับสนกับคำเรียกคุณพ่อคุณแม่ของผู้เขียนน่ะค่ะ